เข้าสู่ฤดูร้อนกันแล้ว อากาศอบอ้าวแบบนี้ ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดี และอาจทำให้อาหารบูดเสียได้ง่ายกว่าปกติ และเมื่อเรารับประทานอาหารนั่นเข้าไป ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางอาหาร และน้ำ โดยเฉพาะโรคอาหารเป็นพิษ และในบางกรณีอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิตได้เลย
ดังนั้น มาดูกันว่ามีอาหารประเภทไหนบ้างควรหลีกเลี่ยง รวมทั้งวิธีป้องกันกันเถอะ
อาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ ที่ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ มี 7ประเภท ดังนี้
- อาหารประเภทกะทิ
- อาหารประเภทกะทิ
อย่างเช่น แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด ขนมพวกกะทิ ซึ่งเป็นอาหารที่ง่ายต่อการบูดเสีย เชื้อจุลินทรีย์ชอบ ดังนั้น ต้องมั่นใจว่าเป็นอาหารปรุงสุกใหม่ ถ้ากินไม่หมดต้องนำเข้าตู้เย็นแล้วนำมาอุ่น ทางที่ดีควรรับประทานให้หมดภายในมื้อเดียว ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงไม่กินอาหารประเภทกะทิที่ไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัยหรือไม่ โดยเฉพาะอาหารแผงลอย ริมฟุธบาตก็น่าจะลดความเสี่ยงได้มากทีเดียว
- อาหารประเภทยำ
อาหารยำ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีลวก แต่ลวกไม่สุกทำให้เชื้อโรคไม่ตาย หากรับประทานเข้าไปเชื้อโรคก็อาจเข้าไปขยายพิษในร่างกาย ส่วนส้มตำน่าจะเป็นอาหารไทยที่ทำให้คนท้องเดินมากที่สุด ทั้งปลาร้าที่ไม่ผ่านการต้มสุก ปูดองดิบๆ ที่เชื้อจุลินทรีย์ซ่อนอยู่ในขาปูที่เราชอบดูด รวมทั้งถั่วลิสงป่นที่มีเชื้ออัลฟาท็อกซิน กุ้งแห้งใส่สีที่ไม่ได้ล้าง มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว มะละกอไม่ได้ล้างน้ำ ครกที่มีแมงลงวันตอม ซึ่งที่กล่าวมานี้ไม่ใช่กินไม่ได้ แต่ขอให้เราใส่ใจเลือกแค่นั้นก็ปลอดภัยแล้ว
- ขนมจีน
มีความเสี่ยง ทั้งจากเส้นขนมจีน น้ำยากะทิ และผักสดที่ไม่ล้างหรือล้างไม่สะอาด เนื่องจากทั้งเส้นขนมจีนและกะทินั้นบูดง่ายมาก ส่วนผักไม่ว่าจะผักสด ผักดอง ก็ล้วนต้องระมัดระวัง
- อาหารทะเล
เป็นอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในหน้าร้อน เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในอาหารทะเล จะเจริญเติบโตได้ดีโดยเฉพาะช่วงหน้าร้อน ทำให้บูดเน่าง่าย ดังนั้น ก่อนกินต้องทำให้สุกทุกครั้ง โดยเฉพาะยำหอยแครง ปลาหมึก
- อาหารค้างคืน
หากมีความจำเป็นต้องเก็บอาหารค้างคืนไว้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นแล้วต้องมั่นใจว่าไม่บูดเสีย และมีการอุ่นให้ได้ที่ทุกครั้ง ทางที่ดีควรกินอาหารปรุงสุกใหม่ทุกครั้ง
- อาหารที่มีแมลงวันตอม
สังเกตได้ง่ายนิดเดียว โดยเฉพาะอาหารปรุงสำเร็จที่วางขายในภาชนะที่ไม่มีฝาและสิ่งใดปกปิด ที่สำคัญคงไม่ใช่แค่แมลงวันที่ไปไต่ตอม แต่พวกฝุ่นละออง เชื้อโรค ก็สามารถร่วงหล่นลงไปในอาหารด้วย
- น้ำดื่ม และน้ำแข็ง
ต้องมั่นใจว่าเป็นน้ำดื่มที่อาดได้มาตรฐาน อย. น้ำแข็งที่แช่ร่วมกับอาหารนั้นเสี่ยงต่อการทำให้ท้องร่วงมาก ขณะเดียวกันน้ำที่ใส่เหยือกหรือกาไว้ก็ไม่น่าไว้ว่างใจเช่นเดียวกัน
ข้อแนะนำที่ควรทำ
- ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
- หลีกเลี่ยงอาหารมันจัด หวานจัด และเค็มจัด รวมถึงอาหารที่มีไขมันสูงย่อยยาก
- กินผลไม้ไทยๆ ที่มีรสหวานน้อยเป็นประจำช่วยดับร้อนได้ดีทั้งชมพู ส้ม แตงโม แก้วมังกร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลไม้ที่มีน้ำมากกว่า 90%
- ออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงสม่ำเสมอ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สสส.