Loading...
ข่าว

เปิด “คุ้มขุนแผน” และ “วัดแค” ณ เมืองสุพรรณ

“เอหิมะมะ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ”

คาถาที่โด่งดังมาจากเรื่อง
..วันทอง 2021..
ที่กำลังเป็นกระแสอย่างมากในเวลานี้ มีคาถามากมายที่ปล่อยออกมา
ตามโซเชียลมีเดีย
แต่วันนี้เราไม่ได้มาแจกคาถา เพราะในวันหยุดเช่นนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ “คุ้มขุนแผน” และ “วัดแค” ที่ตั้งอยู่จังหวัดสุพรรณบุรีว่ามีอะไรบ้าง

คุ้มขุนแผน

เป็นชื่อเรียกของเรือนไทยโบราณภาคกลางแบบเรือนคหบดีไทย ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระวิหารพระมงคลบพิตร หันหน้าสู่ถนนศรีสรรเพชญ์และถนนป่าตอง ตำบลประตูชัย ตรงข้ามวัดพระราม
บริเวณด้านหน้าคุ้มขุนแผนจะมีสวน ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำท่าจีน บรรยากาศร่มรื่นด้วยร่มเงาต้นไม้
“คุ้มขุนแผน” แท้จริงแล้วสถานที่แห่งนี้ไม่ใช่ที่อยู่พำนักของขุนแผน เพียงแต่ตั้งอยู่บนบริเวณที่ประวัติศาสตร์ได้ระบุเอาไว้ว่าเคยเป็น คุกหลวง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งไปตรงกับเรื่องราวในนิทาน “ขุนช้าง – ขุนแผน” ตอนที่ขุนแผนต้องโทษคดีอาญามีคำสั่งให้นำตัวไปจองจำในคุกหลวง

📌 ที่ตั้ง : 3507 ต.รั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี 72000

https://goo.gl/maps/Yv6W6Y4PBzmhq5hR9

วัดแค

เมื่อไปเที่ยวคุ้มขุนแผนแล้ว อย่าลืมแวะไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ วัดแค ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ไปทางเหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุประมาณ 2 กิโลเมตร และอยู่ติดกับคุ้มขุนแผน

ภายในวัดนี้มี ต้นมะขามใหญ่ ที่เชื่อกันว่า “ขุนแผนได้เรียนวิชาเสกใบมะขามจากต้นมะขามต้นนี้ ให้เป็นตัวต่อตัวแตนจากท่านอาจารย์คงไว้โจมตีข้าศึก”

วัดนี้มีโบราณวัตถุที่น่าสนใจ ได้แก่ พระพุทธบาทสี่รอย ทำด้วยทองเหลือง กว้าง 1.40 เมตร ยาว 2.80 เมตร สร้างซ้อนกันไว้ในรอยใหญ่ นอกจากนี้ก็มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบศิลปะรัตนโกสินทร์ จีวรและอังสะเป็นดอกพิกุลงดงามมาก ประดิษฐานอยู่ในวิหารหน้าพระประธาน

📌 ที่ตั้ง : 191 ถนน สมภารคง ต.รั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี 72000

https://goo.gl/maps/7TN79aNDEK9PHZ7c6

ทั้ง 2 สถานที่ สร้างขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้กับคนจังหวัดสุพรรณบุรี

ดูในละครแล้ว อย่าลืมไปสัมผัสของจริงกันด้วยนะ ที่สำคัญอย่าอินเกิน จนดึงใบต้นมะขามใหญ่ออกมาเสกเป็นต่อแตน เพราะจะถือว่าเป็นการทำลายวัดแทน ควรอนุรักษ์ไว้ให้เด็กรุ่นใหม่กันดีกว่า…^_^

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
 http://www.suphan.biz/WatKae.htm http://www.suphan.biz/khumkhunpan.htm