Loading...
ข่าว

มีโรคประจำตัว ควรดูแลและป้องกันตัวเองอย่างไร ในภาวะโควิด-19

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเห็นได้ว่าผู้ติดเชื้อมีอาการป่วยที่แตกต่างกัน 👩‍🔬 💬 แต่กลุ่มที่น่าเป็นห่วง คือ ผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายและมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่สุขภาพแข็งแรง 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างโรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง หรือโรคที่ต้องรักษาอาการป่วยบางประเภท มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 และมีอาการรุนแรงมากกว่าบุคคลทั่วไป

วันนี้เลยนำวิธีดูแลและป้องกันตัวเองจากเชื้อโควิด-19 สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว มาฝากกัน…👉👉👉

👨‍🔬💬โรคปอดเรื้อรัง

ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอาการผิดปกติ อักเสบ หรือเกิดความเสียหายบริเวณปอดอยู่แล้ว หากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะทำให้อาการรุนแรงเพิ่มขึ้น เพราะไวรัสตัวนี้เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะหอบหืดเฉียบพลัน ปอดบวม หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

วิธีดูแลและป้องกันยังไม่มีการรักษาที่แน่ชัด แต่วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงและงดเจอกับผู้ติดเชื้อให้ได้มากที่สุด รักษาความสะอาดทุกจุด ควรสวมใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อย ๆ และทานยาตามที่แพทย์สั่ง

👨‍🔬💬 โรคเบาหวาน

ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป หากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ร่างกายจะต่อต้านเชื้อน้อยลง และสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้

วิธีดูแลและป้องกัน : ควรวัดน้ำตาลในเลือดและจดบันทึกไว้ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด ลองปรึกษาแพทย์เพื่อจัดยาอินซูลินล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน และทานยาตามที่หมอสั่งเท่านั้น

👨‍🔬💬 โรคหัวใจ

ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ หากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจมีอาการรุนแรง เนื่องจากหัวใจจะทำงานหนักกว่าปกติเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย และเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือความดันหลอดเลือดปอดสูง

วิธีดูแลและป้องกัน : ควรรับประทานยาโรคหัวใจและความดันตามที่หมอสั่ง ปรึกษาหมอในการจัดยาล่วงหน้า 2 สัปดาห์ เพื่อหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน เลี่ยงพื้นที่เสี่ยง สวมหน้ากาก และล้างมือบ่อย ๆ

👨‍🔬💬 ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสามารถในการจัดการกับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคของร่างกายลดลง ภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจเกิดจากโรคมะเร็งบางชนิด และการรักษาโรคมะเร็งอย่างการฉายแสง หรือการทำเคมีบำบัดก็สามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันในระยะยาวได้

วิธีดูแลและป้องกัน : ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการรักษา เพื่อป้องกันการทำลายระบบภูมิคุ้มกันในระยะยาว สวมหน้ากาก ล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงและการพบเจอผู้ติดเชื้อ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ติดเชื้อได้ง่าย

ยังมีโรคอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยนะ

  • โรคไตเรื้อรัง และรับการรักษาด้วยการฟอกไต
  • โรคตับแข็ง และโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง
  • โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว หรือรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • โรคลมชัก ภาวะสมองพิการ ภาวะพัฒนาการบกพร่องระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง และโรคกล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม
  • ภาวะตั้งครรภ์

ดังนั้นควรดูแลตัวเองให้ดี ควรปฏิบัติตามแพทย์สั่ง ทานยาให้ครบ และอย่าลืมใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่างด้วยนะ หากพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ‼