Loading...
ข่าว

บริหารงานอย่างมีคุณภาพด้วย PDCA

ไม่ว่าจะลงมือทำอะไร หากเราเริ่มต้นด้วยการวางแผนที่ดีแล้ว มักจะทำให้มีโอกาสบรรลุผลสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น 🎯 

ดังนั้น❗การบริหารงานอย่างมีคุณภาพ หากเพียงแค่วางแผนงานอย่างเดียว จึงไม่เพียงพอ ต้องลงมือปฏิบัติจริงด้วย

วันนี้ขอนำเสนอหัวใจสำคัญ ❤ ของการบริหารงาน ด้วยหลักการ วรจร PDCA มาให้ความรู้กับทุกคนกัน

วรจร PDCA

เป็นหลักการที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่การวางแผนเท่านั้น แต่เน้นการทำงานอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการพัฒนา และปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ต่อมา W.Edwards Deming ได้นำมาเผยแพร่และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า “Deming Cycle”

โครงสร้างของวงจร PDCA 

ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน

  • P-Plan วางแผน

หากเรารู้ว่ามีเป้าหมายอะไร ก็เริ่มวางแผนจากเป้าหมายที่วางไว้ จัดลำดับความสำคัญให้ชัดเจนและครอบคลุม กำหนดขั้นตอนและวิธีการ มีระยะเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุด วางแผนงบประมาณและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ใช้ รวมทั้งควรมีแผนสำรอง และควรกำหนดตัวชี้วัดผล (KPI) ให้ชัดเจน เพื่อวัดผลว่าแผนการของเราเป็นไปตามนั้นหรือไม่ หากผิดพลาดจะได้วางแผนแก้ไขได้ทันท่วงที

  • D-Do ปฏิบัติ

ทำความเข้าใจแผนงานและลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ หากมีทีมงานคอยสนับสนุนควรกระจายงานให้ชัดเจน

  • C-Check ตรวจสอบ

ติดตามผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ ซึ่งสามารถดูได้จาก KPI หากผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นไปตามที่ KPI ตั้งไว้ แสดงว่าแผนงานนั้นใช้ได้ดี หากผลลัพธ์ต่ำกว่า KPI จะแสดงถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น

  • A-Action ดำเนินการอย่างเหมาะสม

หากผลลัพธ์ออกมาดีก็จะเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป แต่ถ้าหากผลลัพธ์ผิดปกติ ต้องปรับปรุงแผนงานเพื่อให้ผลลัพธ์กลับสู่เป้าหมายอีกครั้ง โดยเริ่มต้นจากหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้น แล้วหาวิธีการแก้ไขปรับปรุงต่อไป

ลองนำวงจร PDCA ไปใช้ในการบริหารการทำงานของทุกคนกันนะ หากสามารถบรรลุเป้าหมายในครั้งแรกแล้ว ครั้งต่อไปแม้ว่าจะมีเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น ก็สามารถนำหลักการนี้ไปใช้ได้เหมือนกัน 🙂✌️

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.ftpi.or.th/2015/2125