Loading...
ข่าว

5 โรควิตกกังวล ที่พบบ่อยของคนวัยทำงาน!

😣ความเครียด😣

ถือเป็นปัญหาลำดับต้นๆ ของคนวัยทำงาน 👩‍💼 เกิดจากปัจจัยสภาพแวดล้อมรอบตัว การทำงาน การเสพข่าวที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการวิตกกังวลต่อสิ่งรอบตัว นำมาซึ่งผลเสียต่อสุขภาพ 🧑‍⚕ อาทิ การกิน การใช้ชีวิตประจำวัน ความคิด หรือสภาพจิตใจ  เป็นต้น

📣 อะไรคือปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบ โรควิตกกังวลแยกได้เป็นกี่ประเภท? และวิธีการดูแลรักษามีอะไรบ้าง? 👉 วันนี้เราไปหาคำตอบกัน….

ความวิตกกังวล เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียด 😧 บางครั้งมีประโยชน์ในแง่ของการตื่นตัวและความพร้อมในการรับมือกับปัญหาหรือเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ✌️

ปัจจัยที่ทำให้เป็นโรควิตกกังวลประกอบด้วย 3 อย่างหลักๆ คือ พันธุกรรม, เหตุการณ์ต่างๆ รอบตัว ที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก และการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ผิดพลาด สืบเนื่องจากความเครียดสะสมเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งโรคออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

“โรควิตกกังวลทั่วไป”

ความกังวลที่มีมากกว่าปกติ 🥴 แต่สามารถระงับอารมณ์ความรู้สึกได้ด้วยตัวเอง หากมีอาการวิตกกังวลนานเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป ⏰ อาจส่งผลทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนเพลีย รู้สึกกระวนกระวาย ไม่มีสมาธิหงุดหงิด และนอนไม่หลับได้

“โรคแพนิค”

🙄 ความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุ  รู้สึกตื่นตระหนก กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ เช่น เมื่อมีอาการเจ็บป่วยนิดๆ หน่อยๆ ก็เกิดความกังวลล่วงหน้า หรือจะเป็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ป่วยค่อนข้างมาก อาการที่พบคือ เหงื่อออก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ร้อนวูบวาบ แน่นหน้าอก และมีอาการวูบเหมือนจะเป็นลม

“โรคย้ำคิดย้ำทำ”

การคิดซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์แบบซ้ำๆ นำมาซึ่งความรู้สึกวิตกกังวลใจได้ เช่น ล็อคประตูบ้าน 🚪 แล้วหรือยัง? ลืมปิดก็อกน้ำ🚿 หรือเปล่า? จนต้องเดินกลับไปดูซ้ำๆ แม้ว่าอาการจะไม่มีความรุนแรง แต่ก็ทำให้เราเสียเวลา ⏰ 🚶‍♀ การใช้ชีวิตได้เช่นกัน

“โรคกลัวสังคม”

เกิดจากการไปอยู่ในสถานการณ์ที่คิดว่าอาจถูกจ้องมอง 👀 จากคนรอบข้าง 👫 หรือการทำอะไรที่น่าอายต้องคอยหลบ รู้สึกประหม่า และมักคิดในแง่ลบว่าคนอื่นอาจจะนินทาลับหลัง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตประจำวัน อาการที่พบคือ หน้าแดง เหงื่อออก คลื่นไส้ หัวใจเต้นเร็ว และรู้สึกปวดหัว เป็นต้น

“โรคกลัวแบบเฉพาะ”

การกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มากเกินไป เช่น กลัวเลือด 🩸 กลัวเข็มฉีดยา 💉 กลัวที่แคบ กลัวสุนัข 🐕 เป็นต้น แม้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมักจะไม่สมเหตุสมผลสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยนั้นไม่สามารถควบคุมความกลัวได้ มักเกิดปฏิกิริยาทางกายตามมา เช่น ใจสั่น หน้ามืด มื้อเท้าเย็น อาจทำให้ใจสั่น หายใจไม่ออก และเหงื่อออก เป็นต้น

✌️ สำหรับวิธีการรักษา ทำได้ 3 วิธีหลักๆ คือ รักษาด้วยยา ทำจิตบำบัด จัดการและปรับเปลี่ยนความคิด ✌️

นอกจากนี้… เราสามารถดูแลตัวเองเพื่อลดอัตราการเกิดโรคนี้ได้ง่ายๆ คือ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 🥕🥘 ออกกำลังกาย 🏊 ไม่บริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ☕ แต่ถ้าหากรู้สึกเครียด รู้สึกกังวลใจ หลีกเลี่ยงอาการได้ด้วยการทำสิ่งที่เสริมสร้างความสบายใจ อาทิ การฟังเพลงแนวที่ชอบ 📀 ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว 👨‍👩‍👧‍👦 อ่านหนังสือ 📔 หรือการช้อปปิ้ง 🛍 เป็นต้น

กล่าวโดยสรุปคือ โรคที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต ❤️ หลายโรคอาจไม่สามารถป้องกันได้ แต่การเข้าพบจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาก็เป็นอีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถคลายความกังวลได้ เพราะการรับรู้ข้อมูลและการรักษาที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เราสามารถรับมือกับการเผชิญโรคนี้ในอนาคตได้